img_9005

กรณีศึกษา : PASAYA (ตอนที่ 2)

สมมติร้านอาหาร Fine dining แห่งหนึ่ง มีคอร์สอาหารให้ท่านเลือกดังนี้ คอร์ส A: อาหารฝรั่งเศสอย่างดี ราคา 2,000 บาท คอร์ส B: อาหารฝรั่งเศสอย่างดี ราคา 14,000 บาท เมนูอาหารเหมือนคอร์ส A เปี๊ยบ แต่เราจะได้ช่วยชีวิตนกเพนกวินในแอนตาร์กติกา 1 ตัว ท่านจะเลือกแบบไหน ? +++ จากบทความตอนที่แล้ว (PASAYA : ตอนที่ 1) PASAYA แบรนด์เครื่องนอนคุณภาพดีของไทย เป็นแบรนด์ที่เลือกอาหารคอร์ส B มาโดยตลอด ยอมแบกรับต้นทุนสูง มีค่าใช้จ่ายที่แพงกว่ากรรมวิธีการผลิตทั่วไป 7-8 เท่า แต่ยอม เพื่อทำสิ่งที่ดีกับสิ่งแวดล้อม +++ ตั้งแต่สร้างโรงงานแห่งใหม่เมื่อปี 1995 PASAYA ก็ตั้งใจทำระบบบำบัดน้ำเสียอย่างดีตั้งแต่แรก นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อ 30 ปีก่อน ในยุคที่ยังไม่ค่อยมีใครตื่นตัวเรื่องโลกร้อน สารพิษปนเปื้อนเท่าไรนัก ก่อนสร้างบ่อบำบัดน้ำเสีย มีการใช้พลาสติกปู แล้วค่อยเทคอนกรีตสร้างContinue reading “กรณีศึกษา : PASAYA (ตอนที่ 2)”

353647168_812340170250710_2949167745960160344_n

กรณีศึกษา : PASAYA (ตอนที่ 1)

สมัยวัยรุ่น ตอนที่อ่านหนังสือสอบเครียด ๆ ถึงดึกดิฉันจะชอบไปห้องนอนแม่เปิดประตูเข้าไป แล้วก็ไถลลื่นกลิ้งตัวไปบนเตียงแม่เพื่อคลายเครียด ห้องแม่จะเปิดแอร์เย็นฉ่ำเตียงก็เย็น …และสไลด์ได้นั่นเป็นโมเม้นท์ผ่อนคลายเล็ก ๆ ที่ดิฉันได้รับจาก “PASAYA” PASAYA เป็นแบรนด์ผ้าม่าน ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน เครื่องนอนคุณภาพดีมาก(ผ้าปูเตียงสไลด์ลื่นอันสร้างความบันเทิงให้ดิฉัน)นั่นคือภาพประทับใจของดิฉันมาโดยตลอด เมื่อ 5 เดือนก่อน โบว์ … ลูกศิษย์ป.โทดิฉันต้องทำงานวิจัยดิฉันเลยให้โจทย์ว่า ช่วยไปหาบริษัทไทยที่ทำสิ่งดี ๆ ที่น่าสนใจหน่อยโบว์หายไป 2 อาทิตย์ และกลับมาบอกดิฉันว่า “หนูสนใจ PASAYA” ค่ะ โบว์ไม่เคยรู้จัก PASAYA มาก่อน แต่ประทับใจในนโยบายสิ่งแวดล้อมของ PASAYAส่วนอาจารย์ที่ปรึกษาอย่างดิฉัน รู้จักผ้าปู ปลอกผ้าห่มของแบรนด์นี้เป็นอย่างดีแต่ไม่เคยรู้เลยว่า PASAYA เป็นบริษัทที่เป็นมิตรกับทุกคนขนาดนี้ …เรา 2 คนเดินทางไปโรงงาน PASAYA ที่ราชบุรี เพื่อเก็บข้อมูล+++ คุณชเล วุทธานันท์ เข้ามาสืบทอดโรงงานสิ่งทอของที่บ้านที่พระประแดงเมื่อปี 1986ตั้งแต่เข้าไปช่วยงานที่บ้านคุณชเลก็สร้างความสัมพันธ์กับพนักงานเป็นอย่างดีกินข้าวกันกับพนักงานในโรงงานเข้าไปดูเขาทำงานกันในโรงงานตลอดคลุกคลีจนคุณชเลเรียกโรงงานตนเองแบบขำ ๆ ว่า “โรงงานนรก” หน้าร้อน หลังคาโรงงานเป็นสังกะสีพนักงานต้องนั่งปาดเหงื่อกันทอผ้าส่วนหน้าฝน วันไหนฝนตกเยอะContinue reading “กรณีศึกษา : PASAYA (ตอนที่ 1)”

s__6808003

ป้ายชวนรำลึกถึงหน้าที่ตนเอง

ระหว่างทางนั่งรถบัสไปหุบเขาศักดิ์สิทธิ์โคยะซัง ดิฉันสังเกตเห็นป้ายเล็ก ๆ อยู่เหนือกระจกมองหลังของคนขับ ป้ายนั้นเขียนว่า「 私は安全運転とサービス向上に努めます。」 “ข้าพเจ้าจะตั้งใจขับรถด้วยความปลอดภัย และพัฒนาการบริการ” ส่วนแถบด้านล่าง เป็นแผ่นป้ายชื่อของคนขับรถคันนั้น ๆ จากป้ายนี้ ดิฉันได้เรียนรู้ว่า วันนี้ คุณโทชิฮิโกะ โอตานิ เป็นผู้ขับ ก่อนเริ่มงาน คุณโอตานิคงไปรับกุญแจรถกับป้ายชื่อ จากสำนักงาน เขาคงตรวจตรารถ เช็คความเรียบร้อย ก่อนเสียบป้ายชื่อ บิดกุญแจ และออกเดินทางมารับพวกเรา ป้ายชื่อนี้ น่าจะทำให้ผู้โดยสารที่นั่งประจำบ่อย ๆ ทักเขาได้ง่ายขึ้นว่า “สวัสดี คุณโอตานิ” ถ้าผู้โดยสารคนไหนประทับใจ ก็อาจจะเขียนจดหมายชมได้ถูกคน ป้ายชื่อเล็ก ๆ นี้ ช่วยทำให้เขาได้รับการมองเห็นมากขึ้น เปลี่ยนจาก “คุณคนขับรถบัส” เป็น “คุณโอตานิ” ส่วนข้อความด้านบน … “ข้าพเจ้าจะตั้งใจขับรถด้วยความปลอดภัย และพัฒนาการบริการ” ก็ชวนย้ำให้เขาทำงานด้วยความตั้งใจและระมัดระวังมากยิ่งขึ้น ดิฉันคิดเล่น ๆ ว่า ถ้าดิฉันต้องทำป้ายติดหน้า Laptop เวลาไปสอน หรือเวลาพิมพ์บทความ ดิฉันจะเขียนข้อความว่าอย่างไร ?Continue reading “ป้ายชวนรำลึกถึงหน้าที่ตนเอง”

movinginn

หากเมืองเราไม่มีที่พักให้นักท่องเที่ยว จะทำอย่างไร ?

เมืองไทกิ ในจังหวัดฮอกไกโด เป็นเมืองที่ธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ มองไปจะเห็นทุ่งหญ้าสีเขียว ส่วนฤดูหนาว พื้นที่ส่วนใหญ่ก็จะปกคลุมด้วยหิมะนุ่ม ๆ ผู้คนในเมืองมีโอกาสได้เจอสุนัขจิ้งจอกบ้าง ฝูงกวางบ้าง ข้อเสียของเมืองมีเพียงอย่างเดียว คือ ไม่มีที่พักหรือโรงแรมในเมืองนี้ นักท่องเที่ยวที่อยากมา จึงไม่มีโอกาสได้เห็นพระอาทิตย์ขึ้นริมทะเล หรือคอยเดินชมป่าในช่วงเย็น บริษัท Moving Inn เป็นบริษัทหนึ่งซึ่งเล็งเห็นปัญหาตรงนี้ ตัวบริษัทแม่ รับซื้อขายรถมือสอง และดัดแปลงรถอยู่แล้ว พวกเขาจึงนำความสามารถที่มี มาใช้ในการช่วยเหลือการท่องเที่ยวของเมือง Moving Inn ให้คนเช่ารถแคมปิ้งคาร์ โดยนักท่องเที่ยวสามารถจอดพักตามจุดต่าง ๆ และชมธรรมชาติในช่วงเวลาที่งดงามที่สุดได้ Source : https://moving-inn.com/#anc_news ทางบริษัทไปสำรวจจุดจอดรถ จุดพัก ห้องน้ำ ร้านอาหาร และทำเป็น Map กับแพลนทริปแนะนำนักท่องเที่ยว Source: https://moving-inn.com/news/planrecomendation/ สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการความสะดวกสบายอีกหน่อย ทางบริษัทมีบริการ Grand Suite เป็นห้องพักขนาดใหญ่ มีเตียงนอนสบาย หน้าบ้าน มีอ่างแช่น้ำ สามารถอาบน้ำท่ามกลางแสงจันทร์ได้ ไม่ต้องกลัวใครเห็น นอกจากนี้ ด้านข้างยังมีห้องซาวน่าขนาดเล็ก ลานกว้างด้านหน้าContinue reading “หากเมืองเราไม่มีที่พักให้นักท่องเที่ยว จะทำอย่างไร ?”

neil-daftary-cyKTpuTQXI8-unsplash

หากจะเริ่มทำการตลาด ควรเริ่มจากอะไรดี ?

ในฐานะผู้สอนการตลาด คำถามนี้เป็นคำถามที่ได้รับบ่อยที่สุดค่ะ 🙂 เกดแนะนำให้ท่านเซฟบทความนี้ไว้ เตรียมกระดาษ ปากกา ลองอ่านทีละขั้นตอน ค่อย ๆ ทำไปด้วยกันนะคะ ในบทความ จะมีคลิปประกอบ เพื่อให้ทุกท่านเข้าใจง่ายขึ้น เกดอยากให้เหมือนทุกท่านนั่งเรียนกับเกดในคลาสเรียนจริง ๆ ขั้นตอนง่าย ๆ ในการเริ่มทำการตลาด (แบบง่าย ๆ) มีดังนี้ Step 1: ปรับ Mindset – การตลาด ไม่ใช่การขาย ลองนึกถึงแบรนด์ที่เราชอบมาก ๆ สัก 1 แบรนด์ อาจเป็นแบรนด์เสื้อผ้า รองเท้ากีฬา อุปกรณ์ Gadget ขนมขบเคี้ยว ทำไมเราถึงชอบแบรนด์นั้น ๆ คะ? ตัวเกดเอง ปวารณาเป็นสาวกของแบรนด์ MUJI เกดชอบสินค้าที่ใช้งานได้ง่าย ตอบโจทย์ ดีไซน์เรียบง่าย เอามาวางในห้องแล้วดูสบายตา เวลาเดินเข้าไปในร้าน รู้สึกโล่ง โปร่ง เพลงที่เปิดในร้าน ก็ทำให้เราอารมณ์ดี การตลาด “ที่ดี”Continue reading “หากจะเริ่มทำการตลาด ควรเริ่มจากอะไรดี ?”

bruce-tang-Q6mlSz0aGUM-unsplash

จุดเริ่มต้นของ “พอดีต่อใจ”

สวัสดีค่ะ 🙂 ชื่อ เกด ชื่อจริง กฤตินี พงษ์ธนเลิศ ปัจจุบัน สอนการตลาดที่คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีเพจ Facebook ชื่อ “เกตุวดี Marumura” และเขียนหนังสือเกี่ยวกับญี่ปุ่นประมาณ 10 เล่มค่ะ เกดเคยไปอยู่ญี่ปุ่นมา 8 ปี ได้เรียนและฟังแนวคิดของผู้ประกอบการญี่ปุ่นที่คิดดี ตั้งใจดีกับพนักงาน ลูกค้า และสังคม จนวันหนึ่ง เกดเขียนหนังสือที่ถ่ายทอดเรื่องราวธุรกิจคิดดีเหล่านี้ออกมาในหนังสือ “ริเน็น … สร้างธุรกิจ 100 ปีด้วยหลักคิดแบบญี่ปุ่น” สิ่งที่ประหลาดใจ คือ มีผู้ประกอบการหลายท่านมากที่ทักเข้ามาในเพจ บอกว่าดีใจที่ได้เจอหนังสือเล่มนี้ ดีใจที่ตัวเองมาถูกทาง คำว่า “ถูกทาง” คืออะไร ? เกดคิด ๆ ดู ในวงการสื่อและวงการธุรกิจ เรามักคุยกันถึงเรื่องผลประกอบการ บริษัทไหนได้ยอดขายเท่าไร ? ขายดีอย่างไร ? แต่ในหนังสือริเน็น เกดเล่าว่า ธุรกิจคิดดี ตั้งใจดีเป็นอย่างไร (สุดท้ายContinue reading “จุดเริ่มต้นของ “พอดีต่อใจ””

Omotenashi

ทำงานเพื่ออะไร ? คำสอนจากลูกชายเชฟซูชิอันโด่งดัง

วันนี้ เป็นอีกวันที่ดิฉันขอบคุณตัวเองที่พูดภาษาญี่ปุ่นได้เพราะได้คุยกับเชฟซูชิ “โอโนะ ทาคาชิ”หรือลูกชายคนรองของปู่จิโร่ เชฟซูชิมิชลินชื่อดังเป็นระยะเวลาเกือบ 1 ชั่วโมงเต็ม ดิฉันได้ฟังตั้งแต่เรื่องปู่จิโร่ เรื่องการออกแบบร้านเรื่องการมาเยือนของ Robuchon เชฟฝรั่งเศสระดับโลกและสันติภาพโลก … คุยกันไปไกลมากจริง ๆ ครั้งนี้ ดิฉันไปทานคนเดียวแขกคนอื่น ๆ มีคู่รักฝรั่งเศสหนึ่งคู่ คู่รักญี่ปุ่นหนึ่งคู่ และดิฉันหนึ่งคน … คุณทาคาชิปั้นซูชิไป คุยกับแขกไปอย่างคล่องแคล่วกะจังหวะพอให้ดิฉันคุ้นกับบรรยากาศรอบ ๆเขาค่อยหันมาถามดิฉันง่าย ๆ ว่า “มาจากไหนครับ”ถ้าเป็นคนญี่ปุ่น คงตอบชื่อเมืองแต่ดิฉันก็ตอบตรง ๆ ไปว่า “ประเทศไทยค่ะ”เมื่อได้ยินเช่นนั้น คุณทาคาชิก็ตอบ “สวัสดีครับ” เป็นภาษาไทยกลับมาได้ทันที ย้ำว่า “ทันที” คุณทาคาชิอธิบายซูชิแต่ละหน้าให้คู่รักฝรั่งเศสฟังเป็นภาษาอังกฤษได้อย่าง “คล่องแคล่ว”สามารถอธิบายหน้าซูชิทั้ง 14 คำพร้อมยิงมุขประปรายได้หมดเลย แกหันมาบอกแขกญี่ปุ่นและดิฉันว่าแกเพิ่งหัดท่องประโยคเหล่านี้เมื่อสามปีก่อนนี้เองนับวัน แขกต่างชาติยิ่งมากขึ้นแกอยากสื่อสารให้ได้ เลยถามศัพท์จากแขกบ้างให้เด็ก ๆ ในร้านสอนบ้าง สามปี ได้ขนาดนี้ … ไม่ธรรมดาค่ะนอกจากพูดภาษาอังกฤษได้แล้วคุณทาคาชิยังจำศัพท์ภาษาจีนง่าย ๆ เช่น“จิ้ม/ไม่ต้องจิ้มโชยุ” ได้ด้วยและสามารถกล่าวคำทักทายได้ 40 ภาษาทั่วโลก นั่นเป็นครั้งแรกที่ดิฉันหวนนึกถึงคำว่าContinue reading “ทำงานเพื่ออะไร ? คำสอนจากลูกชายเชฟซูชิอันโด่งดัง”

Screenshot 2021-12-29 at 12.52.04

เมื่อคนทั้งหมู่บ้าน ร่วมใจบันดาลให้ทั้งเมืองเป็นโรงแรม

ในลิสต์ “สถานที่ในญี่ปุ่นที่อยากไป” ของดิฉันได้จารึกชื่อสถานที่เพิ่มอีกแห่งในวันนี้ … เมืองโคสึเกะ จังหวัดยามานาชิ เคยเผชิญกับวิกฤติหนัก ในอดีต ในเมืองเคยเลื่องชื่อเรื่องการเพาะเลี้ยงผึ้งและการเกษตรแต่ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมานี้ ด้วยสังคมผู้สูงอายุและธุรกิจที่ซบเซา จำนวนประชากรของเมืองค่อย ๆ ลดลงจนเหลือเพียงแค่ 700 คน มีการพยากรณ์ว่า หากสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้ต่อไปในปี 2060 เมืองนี้จะมีประชากรเหลือเพียง 300 กว่าคนเท่านั้น เมื่อเห็นสถานการณ์ไม่ค่อยจะดีเท่าไรผู้ใหญ่บ้านจึงตีกลองร้องประชุมชาวบ้านก็มาชุมนุม … หาข้อดีของเมืองตนเอง หมู่บ้านโคสึเกะมีธรรมชาติที่งดงามร้อยละ 95 ของหมู่บ้านเป็นผืนป่ามีบ้านเก่าแก่ว่างถึง 70-100 หลัง หากมองว่า ก็แค่ชนบทบ้าน ๆ มีภูเขา ป่าไม้ ทุ่งนา จะว่าไม่มีอะไรก็ไม่มีอะไร แต่ถ้าคิดดี ๆ สิ่งเหล่านี้ น่าจะดึงดูดนักท่องเที่ยวได้นะ! ชาวเมืองเลยพัฒนาเป็นคอนเซปท์“โรงแรมที่สร้างจากความร่วมใจของชาวบ้านทั้งหมู่บ้านกว่า 700 คน”พวกเขาเริ่มรีโนเวทบ้านเก่าหนึ่งหลังเชิญเชฟชื่อดังมาช่วยออกแบบเมนู Dinner Course จากนั้น ชาวบ้านก็เริ่มแบ่งหน้าที่กัน …คุณลุงคนหนึ่ง อาสาเป็น “คนขับรถ” ไปรับแขกที่มาคุณป้าอาสารับผิดชอบเป็น “ไกด์ท้องถิ่น”พานักท่องเที่ยวเดินชมในหมู่บ้าน แม้แต่คุณยายวัยContinue reading “เมื่อคนทั้งหมู่บ้าน ร่วมใจบันดาลให้ทั้งเมืองเป็นโรงแรม”

เกี่ยวกับเรา
พื้นที่แลกเปลี่ยน & เรียนรู้เรื่องธุรกิจและการตลาดดีดี
ติดต่อเรา
Facebook
Twitter
Instagram
Clubhouse